วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การตรวจครรภ์

การตรวจครรภ์ 4 ท่า



การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในชีวิตของสตรีทุกคนเนื่องจากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งในช่วงชีวิตของสตรีในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งทุกครอบครัวมีความคาดหวังที่จะได้ทารกที่แข็งแรงและมารดาผ่านกระบวนการคลอดไปได้อย่างปลอดภัยที่การแพทย์ยังไม่มีความเจริญก้าวหน้ามากนัก สตรีส่วนใหญ่สามารถคลอดได้เองที่บ้าน โดยไม่ต้องการสูตินรีแพทย์แต่อย่างใด แต่อัตราการเสียชีวิตของสตรีจากการคลอดยังเป็นสาเหตุการตายของมารดาที่สำคัญดังนั้นในปัจจุบันที่วิทยาการทางการแพทย์ได้พัฒนาขึ้นมากแล้วการดูแลสตรี        ตั้งครรภ์ทั้งในระยะก่อนคลอดและระยะคลอดจึงเป็นหน้าที่ของแพทย์โดยตรง ซึ่งในระยะการเจ็บครรภ์คลอดที่มีระยะเวลาเป็นช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 8 ถึง 12 ชั่วโมง แต่เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญที่สุด และยังเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเสียชีวิตของมารดาและทารกในครรภ์ได้มากที่สุดด้วย ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสตรีตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงระยะคลอดเป็นอย่างดี จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทุกคนด้วย


Leopold maneuver หมายถึง การตรวจครรภ์ทางหน้าท้องด้วยการคลำ เพื่อตรวจลักษณะของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในท่าใด ซึ่งมีการตรวจอยู่ 4 วิธี ดังนี้

1.First maneuver (Fundal grip) การคลำส่วนยอดมดลูกเพื่อตรวจหาระดับยอดมดลูก
วิธีตรวจ
- ใช้มือหนึ่งคลำที่ยอดมดลูก อีกมือหนึ่งแตะที่บริเวณลิ้นปี่ แล้วดูว่าระดับของยอดมดลูกเป็นสัดส่วนเท่าใดกับหน้าท้อง
- ตรวจดูว่าที่บริเวณยอดมดลูก มีลักษณะอย่างไร ซึ่งหัวจะมีลักษณะเรียบ กลม แข็ง และมี ballottement ต่างจากก้น ซึ่งนุ่มกว่าบางแห่งแข็ง บางแห่งเรียบและไม่กลม อาจมี ballottement แต่ไม่ชัดเจนเท่าหัว
- ตรวจดูว่าสัดส่วนของเด็กค่อนไปทางด้านใด เพื่อประกอบในการวินิจฉัยทำเด็ก เพราะเด็กที่อยู่ใน ลักษณะ fetal avoid ถ้าคลำได้ส่วนของเด็กที่ยอดมดลูกค่อนไปข้างขวา หลังเด็กควรงอไปทางซ้ายของมดลูก

2.Second maneuver (Umbilical grip) การคลำเพื่อตรวจหาหลังของทารกว่าอยู่ด้านใด
วิธีตรวจ
- ใช้มือทั้งสองข้างคลำหาแผ่นเรียบใหญ่ คือ หลังของเด็ก (Large part) ส่วนด้านตรงข้าม จะคลำได้เป็นปุ่ม อาจมีการเคลื่อนไหว ให้เห็น คือแขน ขา ศอก เข่า (Small part) กรณีที่คลำได้ไม่ชัดเจน บริเวณที่เป็นหลังของเด็กอาจรู้สึกว่าเหมือนอะไรมาต้านฝ่ามือไว้ต่างจากส่วนที่มีแขนขาซึ่งอยู่จะรู้สึกว่ามีที่ว่างมากกว่าด้านที่เป็นหลังและกดผนังหน้าท้องผู้ตรวจครรภ์ได้มากกว่า
- สังเกตว่าหลังอยู่ตำแหน่งใด ของหน้าท้องแม่ กรณีที่เป็น anterior position หลังจะอยู่เต็มด้านใดด้านหนึ่ง คลำแขน - ขาไม่ชัดเจนถ้าเป็น Transverse position จะคลำหลังได้เพียงข้างเดียว ของลำตัวแม่ posterior position จะคลำได้เพียงหัวไหล่และสีข้างเด็กค่อนไปทางสีข้างแม่ และคลำได้แขน ขาทั่วบริเวณหน้าท้อง

3.Third maneuver (Pawlik’s grip) การคลำเพื่อตรวจหาส่วนนำ (presenting part) และ attitude ของทารกในครรภ์
วิธีตรวจ
- ใช้มือขวาคลำและจับส่วนของทารกที่บริเวณเหนือหัวเหน่าให้อยู่ภายในอุ้งมือ
- ตรวจหาส่วนนำ ถ้าเป็นศีรษะจะมีลักษณะกลมแข็งและเรียบ มีballottement ชัดเจน และอาจคลำได้ร่องคอ
-ตรวจหาระดับของส่วนนำ โดยถ้าโยกส่วนนำของทารกให้เคลื่อนไหวไปมาได้ แสดงว่าส่วนนำยังลอยอยู่ แต่ถ้าไม่สามารถโยกได้แดงว่าส่วนนำผ่านลงสู่ช่องเชิงกรานแล้ว (engagement)
- ตรวจทรงของทารก โดยคลำหา cephalic prominence ของทารก ถ้าคลำได้ตรงกันข้ามกับหลังและสูงกว่า แสดงว่าทารกอยู่ทรงก้ม ถ้าคลำได้ด้านเดียวกับหลังแสดงว่าทารกอยู่ในทรงเงย

4.Fourth maneuver (Bilateral inguinal grip) การคลำเพื่อตรวจหาระดับของส่วนนำ และทรงของทารกในครรภ์
วิธีตรวจ   
- มือหนึ่งวางที่หัวเหน่า มือหนึ่งวางที่หน้าท้อง จับหัวเด็กกดลงช่องเชิงกราน คลำดูว่าหัวเด็ก อยู่ต่ำกว่าหรือสูงกว่า   กระดูกหัวเหน่าปกติหัวเด็กจะอยู่ต่ำกว่ากระดูกหัวเหน่า  ถ้าอยู่ระดับเดียวกัน อาจมีความผิดปกติเล็กน้อย ถ้าแรงผลักดันเพียงพอ หัวเด็กมีการ Molding ทำให้ผ่านลงช่องเชิงกรานได้ ถ้าคลำได้หัวอยู่สูงกว่ากระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการเงยของหัวชัดเจน บ่งถึง CPD, Compound presentationจำเป็นต้องตรวจสภาพเด็กและเชิงกรานอย่างละเอียดต่อไป


เอกสารอ้างอิง

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. (2555)Leopold maneuver. วันที่ค้นข้อมูล เมษายน         
                2556, จาก http://www.bcnpy.ac.th/wiki/index.php/Leopold_maneuver